พอร์ตคืออะไร (Port)
พอร์ต เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างตัวคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก ปกติพอร์ตจะอยู่ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
รู้จักชนิดของ Port
วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)
พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้
พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต โดยส่วนใหญ่เราจะใช้สำหรับต่อกับเมาส์ในกรณีที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่มีพอร์ต PS/2 หรือเป็นเคสแบบ AT นอกจากนั้นเรายังใช้สำหรับเป็นช่องทางการติดต่อโมเด็มด้วย ในคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจะมีพอร์ตอนุกรมให้อยู่สองพอร์ต เรียกว่าพอร์ตคอม 1 และพอร์ตคอม 2 นอกจากนั้นอาจจะมีฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น จอยสติ๊กรุ่นใหม่ ๆ มาใช้พอร์ตอนุกรมนี้เช่นกัน
• พอร์ตอนุกรมจะมีหัวเข็ม 9 เข็ม หรือ 25 เข็ม (พอร์ตนี้จะเป็นตัวผู้ เพราะมีเข็มยื่นออกมา)
• พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เม้าส์ โมเด็ม สแกนเนอร์ เป็นต้น
• สามารถต่อความยาวได้ถึง 6 เมตร และราคาสายก็ไม่แพงนัก
พอร์ตขนาน (Pararell Port)
หน้าที่ของพอร์ตตัวนี้ก็คือใช้สำหรับติดต่อกับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับสแกนเนอร์
หรือว่าไดรฟ์ซีดีอาร์ดับบลิวได้ด้วย พอร์ตแบบนี้มีขนาดยาวกว่าพอร์ตอนุกรมทั่ว ๆ ไป โดยมีจำนวนพินเท่ากับ 25 พิน สังเกตได้ง่าย
• พอร์ตขนานจะมีรู 25 รู (พอร์ตนี้จะเป็นตัวเมีย หมายถึงมีรูที่ตัวพอร์ต)
• พอร์ตนี้จะต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เทปไดร์ฟ สแกนเนอร์ เป็นต้น
• สามารถต่อความยาวไม่มากนัก แถมมีราคาแพงกว่าสายของพอร์ตอนุกรมด้วย
• การส่งสัญญาณจะส่งได้เร็วกว่าพอร์ตอนุกรม
ความเป็นมาของพอร์ตขนาน
คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนหนึ่ง ที่ได้รับ การพัฒนาก็ คือ พอร์ตขนาน (Parallel Port) ปกติ คอมพิวเตอร์ มี พอร์ตขนานหนึ่งพอร์ต ซึ่งรู้จักกัน ในชื่อของ "พอร์ตสำหรับ เครื่องพิมพ์ (Printer Port)" ทั้งนี้เพราะแรก ทีเดียวที่มี การพัฒนา สำหรับพีซีในปี 1981 ออกแบบโดย IBM นั้นมีพอร์ตดังกล่าว สำหรับ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ยุคก่อนๆ (เครื่อง ระดับ 486 ลงไป) นั้น ส่ง ข้อมูล ไป ให้เครื่องพิมพ์ แบบ ทิศทาง เดียว (Uni Direction) คือ การ ส่ง จาก คอมพิวเตอร์ ไป เครื่องพิมพ์ โดย มี ความเร็ว 150-200 กิโลไบต์ ต่อ วินาที อย่างไร ก็ตาม ในปี 1991 โดยความร่วมมือ ของบริษัท ผู้ ผลิตอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ได้ แก่ IBM , Laxmark , Texus Instrument ได้ ร่วมประชุม ตกลง เพื่อปรับปรุง พอร์ตขนาน โดย ให้ องค์ IEEE เป็นผู้ร่างข้อกำหนด เกี่ยวกับพอร์ตขนาน ขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจาก นัก พัฒนาและ ผู้ใช้าน ต่าง ก็ ประสบ ปัญหา เกี่ยวกับความ ไม่คล่องตัว ในการใช้งาน พอร์ตขนาน ปัญหา เหล่านั้น แบ่งออกเป็น 3 ประการ ประการแรกคือ ถึงแม้ว่า สถาปัตยกรรม ของ คอมพิวเตอร์ ได้ รับ การ พัฒนา ให้ คอมพิวเตอร์ มี ความเร็ว เพิ่มขึ้น แต่ ใน ส่วนของ พอร์ตขนาน ยัง คง ไม่ มี อะไร เปลี่ยน แปลง ยัง คง ส่ง ข้อ มูล ด้วย ความ เร็ว เท่าเดิม ประการถัดมา คือการขาด มาตรฐานเกี่ยวกับรูป แบบของการส่ง ข้อมูลผ่าน พอร์ตขนาน และ ประการ สุด ท้าย คือ ข้อ จำกัด เกี่ยวกับระยะ ทางการ ส่ง ข้อ มูล ของ พอร์ตขนาน ไม่ สามารถ ส่ง ข้อมูลได้ไกลเกิน 2 เมตร
ดังนั้นในปี 1991 จึงมีการประชุมระหว่าง Lexmark, IBM, Texas Instruments และ ผู้ ผลิต ราย อื่น เพื่อ กำหนด มาตร ฐาน เกี่ยวกับพอร์ตขนาน ขึ้น โดย มี องค์ กร IEEE เป็น ผู้ กำหนด มาตร ฐาน ใน ที่ นี้ จะ กล่าว ถึง เฉพาะ ที่ ใช้งานทั่วไป 3 โหมดด้วย กัน เนื่อง จาก เห็น ว่า คอมพิวเตอร์ ส่วน บุคคล ที่ ใช้ งาน ปัจจุบัน นั้น โดยมาก จะ มี ค่า ให้ กำหนด เพียง 3 โหมด (สำหรับ โหมดที่เหลือที่ไม่ได้ นำ มากล่าวคือ Nibble และ Byte)
1. Normal Mode หรือ SPP Mode (Standdard Parallel Port)
เป็นข้อระบุของการส่งข้อมูลจากเคอมพิวเตอร์ไปเครื่องพิมพ์ตามปกติ หรือ เรียก ว่าเป็น โหมดปกติ ซึ่ง เป็น พอร์ตขนาน ดั้งเดิม ที่ ถูก พัฒนา มา พร้อมกับ เครื่อง IBM นั่นเอง เพียง แต่ ได้ รับ การ ปรับปรุง เพิ่มเติม โดย คงความ เข้ากัน ได้กับ โหมด พอร์ตขนานแบบเดิม ไว้ ดังนั้น จึง เรียก กัน โดยทั่วไป ว่า Compatibiliy Mode หรือ Centronics Mode ข้อ สังเกต สำหรับ การทำงาน ของ โหมดปกติ ก็คือ มี การ ส่ง ข้อมูล ในทิศทางเดียว จาก คอมพิวเตอร์ ไปยังอุปกรณ์ ปลาย ทาง เครื่องพิมพ์ SPP Mode ถูกพัฒนา ให้มีการ ส่ง ข้อมูล ความเร็วสูงขึ้น ราว ประมาณ 500 กิโลไบต์ต่อ วินาที ซึ่ง เห็นได้ว่า เพียงพอ สำหรับ เครื่องพิมพ์ แบบเข็ม (Dot Matrix) และเครื่องพิมพ์ แบบเลเซอร์ รุ่นเก่า แต่ไม่เพียงพอ สำหรับ การ์ด เครือข่าย หรือสำหรับ ไดรฟ์ แบบ เคลื่อนย้าย ได้ และเครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นใหม่
2. EPP Mode (Enhanced Parallel Port)
พัฒนาโดย Intel, Xircom and Zenith Data Systems เมื่อปี 1994 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ เพิ่ม ประสิทธิภาพ ของ พอร์ตขนาน โดยที่พอร์ตขนาน แบบ EPP ยังเข้ากันได้กับ SPP ส่วนที่ถูกพัฒนา ขึ้นคือ พัฒนา ให้ มี การ รับ ส่ง ข้อมูลสองทิศทาง ที่ความเร็วสูงขึ้น 500 กิโลไบต์ถึง 2 เมกะไบต์ต่อ วินาที ทั้งนี้เพื่อใช้งาน พอร์ตขนาน กับอุปกรณ์ อื่นๆนอก เหนือ ไป จากเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ ที่นำมาใช้กับ พอร์ตขนาน แบบ EPP คือ ฮาร์ดดิสก์ การ์ดเครือข่าย คุณสมบัติ ของ EPP คือ สามารถ ส่งข้อมูลได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional) และ ความเร็วใน การ ส่ง ข้อมูลมากขึ้น ประโยชน์ของ การส่งข้อมูล แบบ สองทิศทาง คือ ทำให้การสื่อสาร ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ต่อพ่วง ที่นำมา ใช้งานกับ พอร์ตขนาน ดังกล่าว ได้ ทำให้สามารถ ตรวจสอบ สถานะและ รายงานสถานะ การทำงาน ไปยังคอมพิวเตอร์ ได้ จากการ พัฒนา ดังกล่าว ส่งผลให้ ผู้ผลิต เครื่องพิมพ์ หลายราย โดยเฉพาะ เครื่องพิมพ์ ประเภท เลเซอร์ และเครื่องพิมพ์ ประเภท ฉีดหมึกต่างก็ พัฒนาเครื่องพิมพ์ ของตนให้ ใช้ประโยชน์จากพอร์ตขนาด แบบ ใหม่ ได้ เช่น พิมพ์งานเร็ว มากขึ้น และมีการตรวจ สอบ สถานะ การทำงาน ของเครื่องพิมพ์ ทุกๆระยะ เช่น ตรวจ สอบ ว่าเครื่องพิมพ์ อยู่ในสภาพ พร้อม ใช้งานหรือ ไม่ มี กระดาษ สำหรับ พิมพ์ งานหรือไม่ รวมไปถึง การตรวจสอบ ปัญหาความ ผิดพลาดต่างๆ และแสดงข้อความ บอก สถานะ นั้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เช่น Out of Paper , Cover Open ON ซอฟต์แวร์ควบคุม การพิมพ์บางราย ถึงขนาดแจ้ง วิธีแก้ปัญหา แบบทีละขั้นตอน (Step by Step) บนหน้าจอ คอมพิวเตอร์ ทำให้ ผู้ใช้งาน แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองได้
3. ECP Mode (Extended Capabilities Port )
ECP ถูกเสนอโดย Hewlett Packard และ Microsoft เพื่อนำมา ใช้งานกับ เครื่องพิมพ์ และสแกนเนอร์ รวมไปถึง อุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral) อื่นๆ ECP สามารถ ใช้ DMA Channel (Direct Memory Access Channel) ได้ทำให้ ความเร็ว การส่งข้อมูล เพิ่มขึ้นเพราะไม่ต้อง รอเวลา เมื่ออุปกรณ์ ที่นำมาต่อ พอร์ตขนาน ต้องการ เข้าถึง หน่วยความจำ ในขณะเดียวกัน ก็ลดการ ขัดจังหวะ การทำงาน ของ ซีพียู ความเร็ว ในการ ส่งข้อมูล สูงถึง 2 เมกะไบต์ ต่อวินาที เครื่องพิมพ์ รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่น ปัจจุบันสามารถใช้งาน โหมด ECP ซึ่งทำให้ สามารถ ส่งข้อมูล สื่อสาร กับคอมพิวเตอร์ ได้มากขึ้น แสดงสถานะ การทำงาน และทำการ ตรวจสอบ การทำงาน ของตัวเองได้
4. ECP+ EPP Mode คือการนำโหมดทั้งสองมารวมกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น